ประเพณีชักพระบางท้องถิ่นเรียกว่า " ประเพณีลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้
ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย
โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย
มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่
7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1
ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน
ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ
จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล
ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้
จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ
ถวายแทนบุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม"
เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล
ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น
![]() |
ภาพจาก Web Site
http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0675#
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55
|
ประเพณีชักพระของชาวภาคใต้มีอยู่
2 ลักษณะ คือ ลากพระทางบก กับ ลากพระทางน้ำ
![]() |
ภาพจาก Web Site http://www.psdg.moe.go.th/psdg54/index. ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55 |
ชักพระทางบก
คือการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนนบพระ หรือบุษบก แล้วแห่แหน
ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง
เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง
วัดส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการประเพณีลากพระวิธีนี้ มักตั้งอยู่ในที่ไกลแม่น้ำลำคลอง
ชักพระทางน้ำ
เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนบุษบก ในเรือ
แล้วแห่แหนโดยการลากไปทางน้ำ ประเพณีลากพระ ที่มักกระทำด้วยวิธีนี้
เป็นของวัดที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองการลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก
เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่นๆ เช่น สะดวกในการลากพระ
ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ ที่อำเภอกระบุรี
จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
การชักพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3
วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11
มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว
มีการเล่นเพลงเรือ
และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน
เกี่ยวกับ "ประเพณีไทย"
ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
นอกจากนี้ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
ความหมายของประเพณี
ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผน ที่เห็นว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา
ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
ประเภทของประเพณี
1. จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม มีการบังคับให้กระทำ ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหรือชั่วต้องมีการลงโทษ
2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้มีระเบียบแบบแผนวางไว้โดยตรง หรือโดย อ้อม
โดยตรง คือมีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจน
โดยอ้อม เป็นประเพณีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ได้วางไว้แน่นอน ปฎิบัติโดยการ บอกเล่าสืบต่อกันมา
3.ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบธรรมเนียมไม่มีถูกผิดเหมือนจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่ปฎิบัติกัน มาจนเกิด ความเคยชิน จนไม่รู้สึกเป็นหน้าที่
จากข้อมูลที่สืบค้นมาเพื่อต้องการเผยแพร่ประเพณีไทย ซึ่งประเพณีชักพระ เป็นประเพณีและวัฒนธรรมของภาคใต้ และเป็นประเพณีจากบ้านเกิดของข้าพเจ้าด้วย โดยต้องการให้เยาวชนได้สืบสานประเพณีชักพระต่อไปให้นานที่สุด และในปัจจุบันพระเพณีชักพระจึงได้รับความสนใจจากเยาวชนที่เป็นวัยรุ่นมากขึ้น มีการร่วมทำกิจกรรมมากมาย เช่น การรำกลองยาวหน้าเรือพระ หรือผู้คนไปทำบุญหยอดเหรียญบาตรพระตามเรือพระของเเต่ละวัดที่จอดเรียงราย และยังมีการประกวดงานฝีมือในการสร้างประดิษฐ์เรือพระ ของแต่ละปีจะมีความสวยงามแปลกตาขึ้น มีทั้งไอเดียแหวกแนว อย่างที่นำใบเรียงเบอร์มาทำเป็นลวดลายของเรือพระ ไม่ว่าจะเป็นลายกนก หรือลายไทยต่างๆ ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วย
![]() |
ภาพจากเว็บ http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201310/25/488665df0.jpg |
![]() |
ภาพจากเว็บ http://www.bloggang.com/data/jantojin/picture/1225189223.jpg |