วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย "ชักพระ…วัฒนธรรมภาคใต้"

ประเพณีชักพระบางท้องถิ่นเรียกว่า " ประเพณีลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทนบุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น
ภาพจาก Web Site
http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0675#
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55
ประเพณีชักพระของชาวภาคใต้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลากพระทางบก กับ ลากพระทางน้ำ
ภาพจาก Web Site
http://www.psdg.moe.go.th/psdg54/index.
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55
ชักพระทางบก คือการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนนบพระ หรือบุษบก แล้วแห่แหน ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง วัดส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการประเพณีลากพระวิธีนี้ มักตั้งอยู่ในที่ไกลแม่น้ำลำคลอง
ชักพระทางน้ำ เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนบุษบก ในเรือ แล้วแห่แหนโดยการลากไปทางน้ำ ประเพณีลากพระ ที่มักกระทำด้วยวิธีนี้ เป็นของวัดที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองการลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่นๆ เช่น สะดวกในการลากพระ ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ ที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี         จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง การชักพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3 วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11 มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว
มีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน

เกี่ยวกับ "ประเพณีไทย"
ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ  ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน  ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร          
ภาคกลาง   ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
ภาคใต้         ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 
นอกจากนี้ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ความหมายของประเพณี
                                   ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนเป็น แบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผน ที่เห็นว่าถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และมีการปฎิบัติสืบต่อกันมา

ความหมายของประเพณีไทย
ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
  
ประเภทของประเพณี
1. จารีตประเพณี เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคมส่วนรวม มีการบังคับให้กระทำ ถ้าไม่ทำถือว่าผิดหรือชั่วต้องมีการลงโทษ
2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่ได้มีระเบียบแบบแผนวางไว้โดยตรง หรือโดย อ้อม        
        โดยตรง คือมีระเบียบกฎเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจน
        โดยอ้อม เป็นประเพณีที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ได้วางไว้แน่นอน ปฎิบัติโดยการ บอกเล่าสืบต่อกันมา
3.ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ไม่มีระเบียบแบบแผน เหมือนขนบธรรมเนียมไม่มีถูกผิดเหมือนจารีตประเพณี เป็นเรื่องที่ปฎิบัติกัน มาจนเกิด ความเคยชิน จนไม่รู้สึกเป็นหน้าที่
จากข้อมูลที่สืบค้นมาเพื่อต้องการเผยแพร่ประเพณีไทย ซึ่งประเพณีชักพระ เป็นประเพณีและวัฒนธรรมของภาคใต้  และเป็นประเพณีจากบ้านเกิดของข้าพเจ้าด้วย โดยต้องการให้เยาวชนได้สืบสานประเพณีชักพระต่อไปให้นานที่สุด และในปัจจุบันพระเพณีชักพระจึงได้รับความสนใจจากเยาวชนที่เป็นวัยรุ่นมากขึ้น มีการร่วมทำกิจกรรมมากมาย เช่น การรำกลองยาวหน้าเรือพระ หรือผู้คนไปทำบุญหยอดเหรียญบาตรพระตามเรือพระของเเต่ละวัดที่จอดเรียงราย และยังมีการประกวดงานฝีมือในการสร้างประดิษฐ์เรือพระ ของแต่ละปีจะมีความสวยงามแปลกตาขึ้น มีทั้งไอเดียแหวกแนว อย่างที่นำใบเรียงเบอร์มาทำเป็นลวดลายของเรือพระ ไม่ว่าจะเป็นลายกนก หรือลายไทยต่างๆ ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วย
ภาพจากเว็บ
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201310/25/488665df0.jpg
ภาพจากเว็บ
http://www.bloggang.com/data/jantojin/picture/1225189223.jpg

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันมาฆบูชา (วันสำคัญทางศาสนา)

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่ตรงกับวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับพระสาวกหรือเกี่ยวข้องกับข้อบัญญัติหรือวินัยสงฆ์ ซึ่งในวันสำคัญเหล่านี้จะมีการประกอบพิธีบูชา เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย

วันมาฆบูชาปีนี้เป็นวันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2556

วันมาฆบูชา 
วันมาฆบูชาปีนี้เป็นวันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2556 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส (เดือนแปดสองหน) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ เมื่อครั้งพุทธกาลได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ เรียกว่า “จาตุรงคสันติบาต” ได้แก่
1. พระอรหันต์สาวกจำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกัน ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์
2. พระอรหันต์เหล่านี้ล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
3. พระอรหันต์เหล่านี้มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน
4. วันนั้นเป็นวันมาฆปูรณี คือ เป็นวันเพ็ญ เดือน 3

คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ "จาตุร" แปลว่า 4 "องค์" แปลว่า ส่วน "สันนิบาต" แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม 3 จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ 3 รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี 

นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา ที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ
     ก. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
     ข. การทำความดีให้ถึงพร้อม
     ค. การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์

วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้
วันในแต่ละเดือน ได้แก่


วันพระ
วันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ),
วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)


วันโกน
วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)
ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน
(หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)

วันสำคัญประจำปี ได้แก่


วันมาฆบูชา
วันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า
"วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

วันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6ตามปฏิทิน
จันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยใน
ประเทศไทยถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือ
พระพุทธศาสนาเถรวาทและไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาใน
วันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม

วันอาสาฬหบูชา
"การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ
เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม 
แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
ซึ่งก็คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

วันเข้าพรรษา
เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลา
ฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งการเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี
(หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันออกพรรษา
 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของ
พระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ
(ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน
ตามปฏิทินจันทรคติไทย


วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็น
วันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

งานเบื้องหลัง Green Screen

Green Screen เบื้องหลัง เทคนิค ที่เนรมิตทุกสิ่งได้ ตามใจต้องการ  เคยสงสัยไหมว่าฉากบางฉากที่สุดอลังการงานสร้าง ทั้งๆที่บางฉากโผล่มาแค่นิดเดียวแต่ใช้สถานที่ใหญ่โต จ้างคนมาประกอบเข้าฉากมากมาย หรือแม้กระทั่งสถานที่ตามเมืองใหญ่ ที่ดูแล้วไม่น่าจะสามารถเข้าไปถ่ายทำได้นั้น เขาทำอย่างไรกัน ลองไปชมเบื้องหลังการถ่ายทำหนังด้วยเทคนิค Green Screen เทคนิคสุดแจ๋ว ที่เนรมิตทุกสิ่งได้ ตามใจต้องการกัน หลักการของมันก็ง่ายมากๆ เพียงแค่นำฉากสีเขียวมากั้น และถ่ายทำไปตามปกติ โดยมีเงื่อนไขว่านักแสดงคนที่อยู่ฉาก Green Screen นั้นต้องห้ามมีสิ่งของหรือสวมใส่ชุดที่มีสีเขียวเท่านั้นเอง พอถ่ายเสร็จในขั้นตอนของการตัดต่อก็แค่ ใช้เทคนิค Green Screen ลบทุกอย่างที่เป็นสีเขียวออกไป จากนั้นหากผู้กำกับอยากจะเพิ่มเติมอะไรเข้าไป ก็แค่นำไปวางแทรกใส่ไว้ในกระบวนการตัดต่อเท่านั้นเอง

ภาพตัวอย่าง VDO Green Screen Visual Effects Movie


ภาพตัวอย่าง การเปรียนเทียบฉาก Green Screen














ภาพตัวอย่าง
ผลงานกลุ่มที่ศึกษาในคณะสื่อสารมวลชน สาขามัลติมีเดีย MM5511
วีดิโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคนิคพิเศษ­ในภาพวิดีทัศน์ เป็นการตัดต่อฉาก Green Screen

จัดทำโดย 
นางสาวสุดารัตน์     เพชรกูล         ตัดต่อเทคนิคพิเศษ (AE)
นางสาวตรีภรัทรา   ภาคำตา          นักแสดง
นางสาวสิริมา          เกื้อสกุล          จัดฉากสถานที่และกำกับภาพ
นายขจร                    แสงเทียน        ถ่ายภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

นายหนังศรีพัฒน์ เกื้อสกุล ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง


นายหนังศรีพัฒน์ เกื้อสกุล ศิลปินแห่งชาติประจำปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง

ประวัติบุคคลสำคัญจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายพัฒน์ เกื้อสกุล นามแฝง หนังศรีพัฒน์ ผู้มีความรู้ความสามารถสาขา ศิลปะการแสดง เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๗๕ ภูมิลำเนา หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วุฒิการศึกษา ป.๔ ประสบการณ์การทำงาน แสดงหนังตะลุงมาแล้ว ประมาณ ๕๐ กว่าปี มีแนวคิดและอุดมการณ์ให้การสืบทอดวัฒนธรรมไทยและรักษาภาษาถิ่นไม่ให้สูญหาย
ผลงาน
แสดงหนังตะลุงแก้บนในท้องถิ่น งานบวช งานประจำปีต่างๆโดยมีผลงานวิชาการ ถ่ายทอดศิลปะการแสดงให้แก่นักเรียนและประชาชนในเขตอำภอพุนพิน รางวัลและผลงานเกียรติคุณที่ได้รับ อาทิ โล่เกียรติยศจากมูลนิธิอุปเสณมหาเถระ ร่วมกับสมาคมชาวปักษ์ใต้ (ศิลปินดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง) ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติคุณผู้มีผงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ปี ๒๕๓๖ ได้รับเกียรติบัตรครูภูมิปัญญาไทย รุ่น ๒ ได้รับโล่ห์เกียรติยศในการพิจารณาผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๑๘ ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๕ จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ โล๋รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๓ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , เกียรติบัตรพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑โล่รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินดีเด่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี ๒๕๔๙ ประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พ.ศ. ๒๕๓๖ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
และหนังศรีพัฒน์ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมหนังตะลุงขึ้น ณ บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาหัวความ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นบริเวณบ้านของตนเอง เพื่อประสงค์จะอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยการฝึกสอนหนังตะลุงใหม่ๆ ออกแสดงในท้องถิ่น ให้ลูกศิษย์ได้ออกแสดง แล้วมาสมทบและ
ให้ความรู้แก่ครูนักเรียนและผู้สนใจด้านศิลปะการแสดงหนังตะลุงโดยทั่วไป โดยผู้มาฝึกฝนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในทุกกรณี
คณะหนังตะลุงศรีพัฒน์

หลักการสอนของหนังศรีพัฒน์ ได้แก่
ฝึกปาก หมายถึง ทักษะการออกเสียงสำเนียงพูดตัวหนังตะลุงให้แตกต่างกันตามลักษณะสำเนียงเฉพาะของตัวหนังตะลุงแต่ละตัว และการฝึกทำนองกลอนและเสียงให้ถูกต้อง ไพเราะ
ฝึกมือ หมายถึงฝึกทักษะการควบคุมมือ แสดงอิริยาบถต่างๆ ของตัวหนังตะลุง ให้มีความคล่องแคล่ว ถูกต้องสัมพันธ์กับบทบาท อารมณ์ การพูด หรือทำนองกลอน
ฝึกสมอง หมายถึง การฝึกทักษะในการนำสาระ คติธรรม มาสอดแทรกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ฝึกไหวพริบปฏิภาณในการใช้คำกลอน หรือการแสดงบทตลก
ฝึกความจำ หมายถึง การฝึกทักษะในการจำเรื่องราว ความรู้ทั้งด้านกว้าง ด้านลึก ทั้งเรื่องในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการแสดงได้โดยอัตโนมัติ
ฝึกความรู้รอบตัว หมายถึง การฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้ ในวิชาการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องราวในวิถีชีวิต และความเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อให้การแสดงทันสมัย ชวนสนใจอยู่เสมอ
ถ่ายทอดศิลปะการแสดงให้แก่นักเรียนและประชาชนในเขตอำภอพุนพิน

ปัจจุบันมีลูกศิษย์ที่ผ่านการฝึกฝนและสามารถออกแสดงได้แล้วจำนวนมากจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลูกศิษย์นายหนังศรีพัฒน์

รายนามศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี ๒๕๕๖ (ปัจจุบัน) 
ประกาศผล เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๕๕๗
นางนิตยา รากแก่น (บานเย็น รากแก่น) (การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ)
นางนิตยา รากแก่น

นายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) (นักประพันธ์-นักร้องเพลงไทยสากล)
นายยืนยง โอภากุล

นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ฉลอง ภักดีวิจิตร) (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร

นายเฉลิม ม่วงแพรศรี (ดนตรีไทย)