วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

งานเบื้องหลัง Green Screen

Green Screen เบื้องหลัง เทคนิค ที่เนรมิตทุกสิ่งได้ ตามใจต้องการ  เคยสงสัยไหมว่าฉากบางฉากที่สุดอลังการงานสร้าง ทั้งๆที่บางฉากโผล่มาแค่นิดเดียวแต่ใช้สถานที่ใหญ่โต จ้างคนมาประกอบเข้าฉากมากมาย หรือแม้กระทั่งสถานที่ตามเมืองใหญ่ ที่ดูแล้วไม่น่าจะสามารถเข้าไปถ่ายทำได้นั้น เขาทำอย่างไรกัน ลองไปชมเบื้องหลังการถ่ายทำหนังด้วยเทคนิค Green Screen เทคนิคสุดแจ๋ว ที่เนรมิตทุกสิ่งได้ ตามใจต้องการกัน หลักการของมันก็ง่ายมากๆ เพียงแค่นำฉากสีเขียวมากั้น และถ่ายทำไปตามปกติ โดยมีเงื่อนไขว่านักแสดงคนที่อยู่ฉาก Green Screen นั้นต้องห้ามมีสิ่งของหรือสวมใส่ชุดที่มีสีเขียวเท่านั้นเอง พอถ่ายเสร็จในขั้นตอนของการตัดต่อก็แค่ ใช้เทคนิค Green Screen ลบทุกอย่างที่เป็นสีเขียวออกไป จากนั้นหากผู้กำกับอยากจะเพิ่มเติมอะไรเข้าไป ก็แค่นำไปวางแทรกใส่ไว้ในกระบวนการตัดต่อเท่านั้นเอง

ภาพตัวอย่าง VDO Green Screen Visual Effects Movie


ภาพตัวอย่าง การเปรียนเทียบฉาก Green Screen














ภาพตัวอย่าง
ผลงานกลุ่มที่ศึกษาในคณะสื่อสารมวลชน สาขามัลติมีเดีย MM5511
วีดิโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคนิคพิเศษ­ในภาพวิดีทัศน์ เป็นการตัดต่อฉาก Green Screen

จัดทำโดย 
นางสาวสุดารัตน์     เพชรกูล         ตัดต่อเทคนิคพิเศษ (AE)
นางสาวตรีภรัทรา   ภาคำตา          นักแสดง
นางสาวสิริมา          เกื้อสกุล          จัดฉากสถานที่และกำกับภาพ
นายขจร                    แสงเทียน        ถ่ายภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

นายหนังศรีพัฒน์ เกื้อสกุล ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง


นายหนังศรีพัฒน์ เกื้อสกุล ศิลปินแห่งชาติประจำปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง

ประวัติบุคคลสำคัญจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายพัฒน์ เกื้อสกุล นามแฝง หนังศรีพัฒน์ ผู้มีความรู้ความสามารถสาขา ศิลปะการแสดง เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๗๕ ภูมิลำเนา หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาหัวควาย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วุฒิการศึกษา ป.๔ ประสบการณ์การทำงาน แสดงหนังตะลุงมาแล้ว ประมาณ ๕๐ กว่าปี มีแนวคิดและอุดมการณ์ให้การสืบทอดวัฒนธรรมไทยและรักษาภาษาถิ่นไม่ให้สูญหาย
ผลงาน
แสดงหนังตะลุงแก้บนในท้องถิ่น งานบวช งานประจำปีต่างๆโดยมีผลงานวิชาการ ถ่ายทอดศิลปะการแสดงให้แก่นักเรียนและประชาชนในเขตอำภอพุนพิน รางวัลและผลงานเกียรติคุณที่ได้รับ อาทิ โล่เกียรติยศจากมูลนิธิอุปเสณมหาเถระ ร่วมกับสมาคมชาวปักษ์ใต้ (ศิลปินดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๖ สาขาศิลปะการแสดง) ได้รับประกาศเชิดชูเกียรติคุณผู้มีผงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ปี ๒๕๓๖ ได้รับเกียรติบัตรครูภูมิปัญญาไทย รุ่น ๒ ได้รับโล่ห์เกียรติยศในการพิจารณาผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ ๑๘ ปี ๒๕๔๒-๒๕๔๕ จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ โล๋รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๓ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , เกียรติบัตรพ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑โล่รางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินดีเด่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี ๒๕๔๙ ประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (หนังตะลุง) พ.ศ. ๒๕๓๖ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
และหนังศรีพัฒน์ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมหนังตะลุงขึ้น ณ บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ที่ ๓ ตำบลเขาหัวความ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อันเป็นบริเวณบ้านของตนเอง เพื่อประสงค์จะอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยการฝึกสอนหนังตะลุงใหม่ๆ ออกแสดงในท้องถิ่น ให้ลูกศิษย์ได้ออกแสดง แล้วมาสมทบและ
ให้ความรู้แก่ครูนักเรียนและผู้สนใจด้านศิลปะการแสดงหนังตะลุงโดยทั่วไป โดยผู้มาฝึกฝนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในทุกกรณี
คณะหนังตะลุงศรีพัฒน์

หลักการสอนของหนังศรีพัฒน์ ได้แก่
ฝึกปาก หมายถึง ทักษะการออกเสียงสำเนียงพูดตัวหนังตะลุงให้แตกต่างกันตามลักษณะสำเนียงเฉพาะของตัวหนังตะลุงแต่ละตัว และการฝึกทำนองกลอนและเสียงให้ถูกต้อง ไพเราะ
ฝึกมือ หมายถึงฝึกทักษะการควบคุมมือ แสดงอิริยาบถต่างๆ ของตัวหนังตะลุง ให้มีความคล่องแคล่ว ถูกต้องสัมพันธ์กับบทบาท อารมณ์ การพูด หรือทำนองกลอน
ฝึกสมอง หมายถึง การฝึกทักษะในการนำสาระ คติธรรม มาสอดแทรกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ฝึกไหวพริบปฏิภาณในการใช้คำกลอน หรือการแสดงบทตลก
ฝึกความจำ หมายถึง การฝึกทักษะในการจำเรื่องราว ความรู้ทั้งด้านกว้าง ด้านลึก ทั้งเรื่องในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการแสดงได้โดยอัตโนมัติ
ฝึกความรู้รอบตัว หมายถึง การฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้ ในวิชาการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องราวในวิถีชีวิต และความเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อให้การแสดงทันสมัย ชวนสนใจอยู่เสมอ
ถ่ายทอดศิลปะการแสดงให้แก่นักเรียนและประชาชนในเขตอำภอพุนพิน

ปัจจุบันมีลูกศิษย์ที่ผ่านการฝึกฝนและสามารถออกแสดงได้แล้วจำนวนมากจากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลูกศิษย์นายหนังศรีพัฒน์

รายนามศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปี ๒๕๕๖ (ปัจจุบัน) 
ประกาศผล เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๕๕๗
นางนิตยา รากแก่น (บานเย็น รากแก่น) (การแสดงพื้นบ้าน-หมอลำ)
นางนิตยา รากแก่น

นายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) (นักประพันธ์-นักร้องเพลงไทยสากล)
นายยืนยง โอภากุล

นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ฉลอง ภักดีวิจิตร) (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
นายบุญฉลอง ภักดีวิจิตร

นายเฉลิม ม่วงแพรศรี (ดนตรีไทย)

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

ย้อนอดีตคำขวัญวันเด็ก 58 ปี


หลังจากผ่านพ้นเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม วันสำคัญต่อมาของเด็กๆ ทั่วประเทศ นั่นคือ "วันเด็กแห่งชาติ" ที่ถูกกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี
ที่มาของวันเด็กแห่งชาติ จากข้อมูลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมระบุว่า มีต้นกำเนิดมาจากการที่สหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็กๆ ปี พ.ศ.2498 นายวี เอ็ม กุลผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และในปีเดียวกันทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
สำหรับประเทศไทย กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงมหาดไทย เห็นควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนกำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นตรงกันว่า สมควรเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กๆไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 เปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
ส่วนเรื่องคำขวัญในวันเด็กแห่งชาตินั้นเป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทยเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ.2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมาจึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 5แล้ว
เริ่มจาก
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
พ.ศ.2499 "จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม"
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.ศ.2502 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า"
พ.ศ.2503 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด"
พ.ศ.2504 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย"
พ.ศ.2505 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่ประหยัด"
พ.ศ.2506 "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด"
จอมพลถนอม กิตติขจร
พ.ศ.2507 "ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ"
พ.ศ.2508 "เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี"พ.ศ.2509 "เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคคี"
พ.ศ.2510 "อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย"
พ.ศ.2511 "ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง"
พ.ศ.2512 "รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ"
พ.ศ.2513 "เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส"
พ.ศ.2514 "ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ"
พ.ศ.2515 "เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ"พ.ศ.2516 "เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ"
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
พ.ศ.2517 "สามัคคีคือพลัง"
พ.ศ.2518 "เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี"
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พ.ศ.2519 "เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้"
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ.2520 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย"
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พ.ศ.2521 "เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง"
พ.ศ.2522 "เด็กไทยคือหัวใจของชาติ"พ.ศ.2523 "อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
พ.ศ.2524 "เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม"
พ.ศ.2525 "ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย"
พ.ศ.2526 "รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดมีวินัยและคุณธรรม"
พ.ศ.2527 "รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิดสุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา"
พ.ศ.2528 "สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
พ.ศ.2529 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พ.ศ.2530 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พ.ศ.2531 "นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัดใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พ.ศ.2532 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พ.ศ.2533 "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม"
พ.ศ.2534 "รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา"
นายอานันท์ ปันยารชุน
พ.ศ.2535 "สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษาจรรยางาม"
นายชวน หลีกภัย
พ.ศ.2536 "ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
พ.ศ.2537 "ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
พ.ศ.2538 "สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม"
นายบรรหาร ศิลปอาชา
พ.ศ.2539 "มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด"
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
พ.ศ.2540 "รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด"
นายชวน หลีกภัย
พ.ศ.2541 "ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย"
พ.ศ.2542 "ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย"
พ.ศ.2543 "มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรมนำประชาธิปไตย"
พ.ศ.2544 "มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรมนำประชาธิปไตย"
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พ.ศ.2545 "เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้สู่อนาคตที่สดใส"
พ.ศ.2546 "เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี"
พ.ศ.2547 "รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียนรักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน"
พ.ศ.2548 "เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่านขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด"
พ.ศ.2549 "อยากฉลาด ต้องขยันอ่านขยันคิด"
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
พ.ศ.2550 "มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข"
พ.ศ.2551 "สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้เชิดชูคุณธรรม"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พ.ศ.2552 "ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี"
พ.ศ.2553 "คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม"
พ.ศ.2554 "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ"
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
พ.ศ.2555 "สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญาคงรักษาความเป็นไทย  ใส่ใจเทคโนโลยี"
พ.ศ.2556 - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี - รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน
พ.ศ.2557 - นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี - กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง